วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คติประจำใจ


ชื่อ นูรฮูดา  มามุ
ชื่อเล่น ยุ
รหัสนักศึกษา  ๕๔๔๑๐๑๐๙๙
 ภาษาไทยหมู่ที่ ๓


ไม่มีคำว่าสายสำหรับการเริ่มต้น




ประวัติและความเป็นมา
        หลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่า ดินแดนแถบ จังหวัดสุพรรณบุรีมีมนุษย์อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินใหม่ เพราะมีการขุดค้นพบเครื่องมือหินพวกขวานหินขัดหรืขวานฟ้าในบริเวณ  อำเภออู่ทอง  อำเภอเจดีย์ อำเภอเมือง
        นอกจากนี้ชื่อ สุพรรณบุรี ก็ถูกนำไปเชื่อมโยงกับคำว่าสุพรรณภูมิ หรือสุวรรณภูมิ อันปรากฏอยู่ในหลักฐานของทางอินเดียในคัมภีร์สมันตปาสาทิก ตรงส่วนที่กล่าวถึงดินแดนแห่งหนึ่งที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระสมณทูตออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั่วทุกทิศถึงเก้าสาย สายหนึ่งนำโดยพระโสณะและพระอุตมะซึ่งเดินทางไปยังสุวรรณภูมิ นักวิชาการบางท่านตั้งข้อสังเกตว่า สุวรรณภูมิน่าจะหมายถึงดินแดนในภาคกลางของไทยแถบ จังหวัดนครปฐม และ จังหวัด สุพรรณบุรี แต่ข้อถกเถียงเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งอันแท้จริงของสุวรรณภูมิก็ยังมีอยู่มาก เพราะทั้งบริเวณในประเทศ พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว เวียดนาม หรือไทย ต่างก็ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาว่าจะเป็นดินแดนสุวรรณภูมิด้วยกันทั้งสิ้น
        นอกจากนี้ยังพบเหรียญเงินสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ที่ อำเภออู่ทอง จารึกชื่อ ทวารวดี เป็นอักษรปัลลวะ ประกอบกับพบหลักฐานของจีน รวมถึงบันทึกของพระถังซำจั๋งและภิกษุจี้อิงที่กล่าวถึง โถโลโปติและ เฉโหโปติ ซึ่งหมายถึง ทวารวดีอันมีอาณาบริเวณแถบลุ่มแม่น้ำพระยาครอบครองคลุมกลุ่มเมืองโบราณนครปฐม อู่ทอง และคูบัว ที่อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒
        ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เมื่ออาณาจักรทวารวดีอ่อนแอลง ขอมก็เข้ามามีอำนาจในดินแดนแถบนี้ดังพบหลักฐานที่เป็นศิลปกรรมและโบราณสถานของขอมกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณบ้านเนินทางพระใน อำเภอสามชุก
       ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง ชื่อของ สุพรรณภูมิ ก็ปรากฏขึ้นในศิลาจารึกหลักที่๑ ของพ่อขุนรามคำแหง และยังปรากฏในจารึกปราสาทพระขรรค์ที่เมืองพระนครในเขมรอีกด้วย
ในสมัยต่อมามีเรื่องเล่าเกี่ยวกับเมืองเก่าอู่ทอง หรือในอีกชื่อว่าเมืองสุพรรณภูมิซึ่งก็คือเมืองสุพรรณบุรีว่า ท้าวอู่ทองหรือพระเจ้าอู่ทองครองเมืองนี้มาแต่เดิม ต่อมาเกิดโรคระบาด ราษฎร ล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงอพยพผู้คนไปสร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวันออกซึ่งก็คือพระนครศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองโปรดให้ขุนหลวงพะงั่งซึ่งเป็นพี่ของพระมเหสีของพระองค์  และพระโอรสของเจ้าเมืองสุพรรณภูมิองค์ ปกครองเมืองสุพรรณบุรีแทน สุพรรณบุรีจึงกลางเป็นเมืองสำคัญของกษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณภูมิเรื่อยมา
        เมื่อพระเจ้าอู่ทองเสด็จสวรรคต ขุนหลวงพะงั่วยกทัพไปยังราชธานีและสถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์ มีพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ เป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิซึ่งเป็นราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนกันครองกรุงศรีอยุธยากับราชวงศ์อู่ทองจนถึงสมัยของสมเด็จพระนครินทราธิราชหรือพระอินทราชาธิราชที่ ๑ ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ จังนับเป็นการครองอำนาจโดยราชวงศ์สุพรรณภูมิอย่างแท้จริง กระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ แก่พม่า
        ในสมัยของสมเด็จพระนครินทราธิราชมีการเปลี่ยนแปลงฐานะเมืองสุพรรณบุรีจากเมืองอิสระมาเป็นเมืองลูกหลวง และต่อมาสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเปลี่ยนเป็นหัวเมืองชั้นใน
        ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กำแพงเมืองสุพรรณบุรีถูกรื้อลงพร้อมๆ กับป้อมกำแพงเมืองอื่นรอบกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากพระองค์มีพระราชประสงค์ให้พระนครศรีอยุธยาเป็นเมืองหลักในการรับศึกพม่าและเพื่อป้องกันมิให้ข้าศึกยึดป้อมเหล่านั้นไว้เป็นฐานซึ่งจะทำให้การรบยืดเยื้อได้
        กระทั่งถึงสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สุพรรณบุรีก็เป็นสถานที่กระทำยุทธหัตถีระหว่างพระองค์กับพระมหาอุปราชาในปี พ.. ๒๑๓๕
         ช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา สุพรรณบุรีซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านได้รับผลกระทบจากสงคราม ถูกทำลายไปพร้อมกับการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ไม่สามารถฟื้นคืนสภาพเดิมได้จนกลายเป็นเมืองร้างไป กระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงพอมีผู้คนไปตั้งชุมชนกันอยู่บ้าง
        เมือมีการปฏิรูปการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการจัดการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล สุพรรณบุรีจึงถูกรวมอยู่ในมณฑลนครชัยศรี จนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้รับการยกฐานะเป็น จังหวัดสุพรรณบุรีนับแต่นั้น

สิ่งที่น่าสนใจ
        หลวงพ่อโตหรืหลวงพ่อวัดป่า ประดิษฐานอยู่ในวิหารเป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน  นั่งห้อยพระบาท  พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุซ้าย  พระหัตถ์ขวางหงายบนพระชานุขวา  สูงราว  ๒๓ เมตร  ด้านหน้าองค์พระมีปูนปั้นรูปลิงนั่งถวายรวงผึ่งและช้างหมอบถวายกระบอกน้ำ  โดยจะอยู่ด้านหน้าประตูวิหาร  อันเป็นลักษณะของพระพุทธรูปปางป่าไลยก์  นอกจากนี้ก็มีลักษณะของปางปฐมเทศนาซึ่งเป็นปางเดิมขององค์หลวงพ่อด้วย  คือรูปกวางหมอบและธรรมจักร
ชาวสุพรรณบุรี  และผู้คนทุกสารทิศนับถือองค์หลวงพ่อโตกันมาก  จนมีคำกล่าวว่า  มาสุพรรณบุรีแล้วไม่ได้ไหว้หลวงพ่อวัดป่าถือว่ายังมาไม่ถึงสุพรรณบุรี
วิหาร  เป็นวิหารขนาดใหญ่ ประตูทางเข้าวิหารมีสามบาน  บานกลางมีขนาดใหญ่ที่สุดและแกะสลักสวยงาม โดยมีเครื่องหมายประจำพระองค์ราชกาลที่    ด้วย
ประตูทางซ้ายและขวาแกะสลักลายเดียวกับประตูกลาง  แต่มีขนาดเล็กกว่า  ด้านหน้าประตูซ้ายมีรูปปั้นขุนแผน  ประตูขวามีรูปปั้นนางพิมพ์ พระนางในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน
วิหารคด  อยู่รอบนอกวิหารหลวงพ่อโต  มีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องขุนช้างขุนแผน  โดยแบ่งเป็นช่อง  แต่ละช่องเขียนฉากที่สำคัญในเรื่องไล่เรียงกันไปตลอดแนว
เรือนขุนช้างหากหันหน้าเข้าวิหารหลวงพ่อโต  เรือนขุนช้างอยู่ด้านซ้ายมือ  เป็นหมู่เรือนไทยหลังใหญ่  โดยเป็นเรืองไม้หลังคาจั่วยกพื้นสูง  ตรงกลางเป็นห้องโถงใหญ่ประดิษฐานพระพุทธรูป  สองข้างซ้าย ขวาเป็นห้องยกพื้นจัดแสดงเครื่องทองเหลืองและเครื่องถ้วยชามสังคโลก  มีภาพเขียนเกี่ยวกับเสภาเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนประดับที่ฝาผนัง
 












ประวัติส่วนตัว

นางสาว  นูรฮูดา  มามุ
ชื่อเล่น  ยู
เกิด  6 มกราคม พ.ศ 2536
รหัสนักศึกษา 544101099
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
เอกภาษาไทย หมู่ 3
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง